ล่าสุดเยฟเกนี ปริโกซิน หัวหน้ากลุ่มแวกเนอร์อัดคลิปใหม่ด้วยความเดือดดาล ถ่ายภาพศพของทหารที่ตายจากการสู้รบ พร้อมทวงถามกระสุนจากกระทรวงกลาโหมรัสเซีย
ความรู้สึกล่าสุดของเยฟเกนี ปริโกซิน หัวหน้ากลุ่มแวกเนอร์ หลังช่วงหลายวันที่ผ่านมาตัวเขาระบุว่า พยายามขอร้องให้กระทรวงกลาโหมรัสเซียช่วยเหลือแล้ว เนื่องจากเวลานี้กลุ่มแวกเนอร์กำลังขาดแคลนกระสุนปืนและกระสุนปืนใหญ่ ส่งผลให้พวกเขาเสียเปรียบกองกำลังยูเครน
หัวหน้ากองกำลังแวกเนอร์ ด่ากราดกองทัพรัสเซีย ประกาศถอนทัพ 10 พ.ค. นี้!
บทบาทของ "กลุ่มแวกเนอร์"ในสงครามยูเครน คำพูดจาก เว็บสล็อต PG
อีกทั้งในตอนท้ายของคลิป ปริโกซินยังย้ำด้วยว่า จำนวนกระสุนที่ส่งมาต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิม มิฉะนั้นอาสาสมัครที่เต็มใจมาสู้รบเหล่านี้ก็จะล้มตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วิดีโอที่ปริโกซินถ่ายศพทหารด้วยความเดือดดาลนี้ถูกบันทึกไว้เมื่อคืนที่ผ่านมา จากนั้นเมื่อช่วงกลางวันของวันนี้ แวกเนอร์ก็ปล่อยคลิปใหม่อีกครั้ง วิดีโอไม่ถูกระบุว่าถ่ายมาจากที่ใด จากภาพเราจะเห็นปริโกซินและสมาชิกกลุ่มแวกเนอร์จำนวนหนึ่ง ปริโกซินระบุว่า แวกเนอร์จะถอนทหารออกจากเมืองบัคมุตในวันพุธที่ 10 พฤษภาคมนี้ และนี่จะเป็นการยุติสมรภูมิที่นองเลือดและยาวนานที่สุดของสงครามยูเครน
คำประกาศถอนตัวออกจากเมืองบัคมุตของกลุ่มแวกเนอร์มีความหมายอย่างมากต่อการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน เนื่องจากทั้งสองฝ่ายตรึงกำลังทางการทหารในเมืองนี้มานานกว่า 10 เดือนแล้ว สำหรับรัสเซีย บัคมุตเป็นเมืองที่พวกเขาต้องยึดให้ได้เพื่อบุกต่อไปยังเมืองอื่นๆ และรัสเซียต้องการชัยชนะในเมืองบัคมุตเพื่อนำไปประกาศต่อสาธารณชน หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จใหญ่ๆ ในสนามรบ นับตั้งแต่ยึดเมืองมาริอูปอลได้เมื่อช่วงกลางปี 2022
ในขณะที่ฝ่ายยูเครนเองก็เสียบัคมุตไปไม่ได้ เนื่องจากที่นี่เป็นเมืองสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังเมืองครามาทอร์สก์และสลาเวียนสก์ สองเมืองแฝดสำคัญของแคว้นโดเนตสก์ ดังนั้นหากไม่มีกลุ่มแวกเนอร์ บัคมุตจะกลับมาเป็นของยูเครนอย่างสมบูรณ์
ข้ามจากสมรภูมิในบัคมุตมาที่กรุงเคียฟ เมื่อช่วงค่ำวานนี้ จู่ๆ ก็มีโดรนปริศนาถูกยิงตกกลางเมือง เหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน หลังเพิ่งจะเกิดกรณีโดรนสองลำบุกเข้ามายังพระราชวังเครมลิน
เมื่อช่วงค่ำของวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เวลาประมาณ 20.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นปรากฏภาพของโดรนลำหนึ่งถูกยิงตกลงจากฟ้า ขณะกำลังบินผ่านกรุงเคียฟ วิดีโอสั้นๆ เผยให้เห็นภาพของเหตุการณ์ หลังถูกยิงโดรนก็ระเบิดจนเกิดลูกไฟและควันดำ ก่อนจะตกลงสู่พื้น ท่ามกลางเสียงโห่ร้องด้วยความยินดีของชาวยูเครนที่อยู่ในบริเวณนั้น เนื่องจากพวกเขาเข้าใจผิดว่า โดรนลำนี้เป็นของรัสเซียและถูกกองทัพยูเครนสกัดไว้ได้
ส่วนภาพนี้เป็นอาคารที่เศษของโดรนซึ่งมีไฟลุกท่วมตกลงมาใส่ ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าควบคุมสถานการณ์อย่างรวดเร็ว รายงานระบุว่า ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ต่อมามีรายงานเพิ่มเติมจากของกองทัพอากาศยูเครนว่า โดรนที่ถูกยิงตกนั้นเป็นโดรนของยูเครนเอง
ภาพจากสำนักข่าว The Guardians เผยให้เห็นนาทีที่เครื่องบินของกองทัพอากาศยูเครนตัดสินใจยิงโดรนรายงานระบุว่า โดรนตัวดังกล่าวคือ โดรนไบรักตาร์ ทีบีทู โดรนสัญชาติตุรกีที่ยูเครนให้เป็นโดรนหลักในการทำสงครามกับรัสเซีย แต่โดรนลำนี้จู่ๆ ก็สูญเสียการควบคุม เจ้าหน้าที่กังวลว่าจะเกิดอันตรายจึงตัดสินใจยิงโดรนให้ตก
เหตุยิงโดรนตกเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โดรนกำลังเป็นประเด็นร้อนแรงระหว่างสองประเทศย้อนไปช่วงเวลาตีสองของวันพุธที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น พระราชวังเครมลินซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการประธานาธิบดีรัสเซียถูกโจมตีด้วยโดรนสองลำ
ภาพเหตุการณ์ตอนที่โดรนลำที่สองแล่นมาเหนือพระราชวังก่อนจะถูกยิงจนระเบิด รัสเซียรายงานว่า เหตุการณ์นี้เป็นแผนลอบสังหารประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของยูเครนและสหรัฐฯ แต่โชคดีที่ในเวลานั้นผู้นำรัสเซียไม่ได้พักอยุ่ในพระราชวัง
พร้อมระบุว่า ขณะนี้ทางการรัสเซียกำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนหาความจริง กระนั้นพวกเขาก็ระบุโดยยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่า ยูเครนอยู่เบื้องหลังของการลอบสังหาร เซเลนสกีมั่นใจ รัสเซียต้องได้รับโทษจากอาชญากรรมสงคราม
ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ออกมาปฏิเสธตั้งแต่หลังเกิดเหตุ ระบุว่า ยูเครนไม่มีส่วนรู้เห็น และยูเครนมุ่งเป้าทวงคืนดินแดนที่ถูกยืดไปเท่านั้น
เมื่อวานนี้ ( 4 พ.ค.) ผู้นำยูเครนเดินทางเยือนกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างแถลงการณ์ประธานาธิบดีเซเลนสกีพูดถึงรัสเซีย แต่ไม่ใช่เรื่องโดรนที่เกิดขึ้นล่าสุด ในการแถลงผู้นำยูเครนกล่าวถึง กรณีที่ประธานาธิบดีวาดิเมียร์ ปูติน เผชิญกับข้อหาอาชญากรรมสงครามโดยศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ICC ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีเซเลนสกีแสดงคามมั่นใจว่า ผู้นำรัสเซียจะไม่รอดพ้นจากความผิดนี้
รวมถึงยังเรียกร้องให้พิจารณาการจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อสืบสวนว่า การกระทำของรัสเซียเข้าข่ายอาชญากรรมรุกรานหรือไม่ ซึ่งข้อนี้เป็นอีกความผิดหนึ่งที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถตั้งข้อหากับผู้นำของชาตินั้นๆ ได้ หากพบว่ามีความผิดจริง
จากนั้นผู้นำยูเครนเดินทางเยือนฐานทัพทหารเนเธอร์แลนด์ที่ตั้งอยู่ในเมืองโซเอสเทอร์เบิร์ก เขากล่าวขอบคุณกองกำลังเนเธอร์แลนด์ที่ช่วยฝึกฝนให้กับทหารยูเครน พร้อมกับยืนยันหนักแน่นว่าจะทำลายความชั่วร้ายของรัสเซียให้ราบคาบ ขณะที่ คัตซา โอลอนเกรน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยืนยันว่า เนเธอร์แลนด์พร้อมสนับสนุนยูเครนต่อไป และในประเด็นศาล ICC ทางเนเธอร์แลนด์ได้ตั้งห้องสืบสวนพิเศษทางด้านนิติวิทยาศาสตร์แล้วเพื่อรวบรวมหลักฐาน
ด้านสหรัฐฯ ที่ถูกรัสเซียกล่าวหาเช่นกันว่ามีส่วนในการส่งโดรนลอบสังหารประธานาธิบดีปูติน เมื่อวานนี้ จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติออกมาระบุว่า สหรัฐฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดรนบุกพระราชวังเครมลิน พร้อมทั้งกล่าวถึงคำพูดของ ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของประธานาธิบดีปูตินด้วยว่า ข้อกล่าวหาที่ว่าแผนลอบสังหารถูกสมคบคิดโดยสหรัฐฯ ร่วมกับยูเครนนั้นเป็นเรื่องโกหก
พร้อมชี้ว่า ที่ผ่านมารัสเซียพยายามทำให้ประชาคมโลกเชื่อว่า สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่กำลังเกิดขึ้นเป็นเรื่องของการต่อสู้ระหว่างชาติตะวันตกที่เป็นสมาชิกนาโต้และรัสเซีย เคอร์บีชี้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลงตัวพอดีในการเสริมสิ่งที่รัสเซียพยายามอ้าง
ภาพจากเมื่อวานนี้ บนหลังคาของพระราชวังเครมลิน จุดที่โดรนระเบิดยังคงปรากฏรอยไหม้สีดำ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้ามากนักว่าโดรนที่บินเข้ามาถึงพระราชวังเครมลินเป็นโดรนชนิดใด ตลอดจนเข้ามายังเมืองหลวงผ่านเส้นทางใด และใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง? มีสามทฤษฎีความเป็นไปได้ หนึ่งคือ เป็นการโจมตีจากยูเครนจริงๆ ข้อนี้มีสถิติสนับสนุน เนื่องจากนับตั้งแต่เข้าปี 2023 เป็นต้นมา มีปรากฎการณ์โดรนปริศนาบินเข้ามาในแผ่นดินของรัสเซีย และดินแดนของยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่จำนวนหนึ่ง
ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุโดรนบุกพระราชวังเครมลิน เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็เพิ่งเกิดเหตุ โดรนตกลงใส่ชุมชนของเมืองคีเรียฟสกี (Kireyevsky) ส่งผลให้เกิดระเบิดมีผู้ได้รับบาดเจ็บสามราย ซึ่งเมืองนี้อยู่ห่างจากชายแดนยูเครนราว 400 กิโลเมตร
หรือในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลรัสเซียก็รายงานว่า เกิดเหตุโดรนตกในหมู่บ้านกูบาสตวา (Gubastovo) และคาดกันว่าโดรนมีภารกิจมุ่งเป้าทำลายโครงสร้างสาธารณูปโภค เนื่องจากไม่ไกลจากหมู่บ้านนี้เป็นที่ตั้งของโรงกลั่นน้ำมันก๊าซพรอม
อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการคาดการณ์ และฝ่ายยูเครนเองก็ไม่เคยออกมายอมรับว่าอยู่เบื้องหลังโดรนเหล่านี้
ทฤษฎีที่สอง คาดกันว่ารัสเซียอาจสร้างสถานการณ์นี้ขึ้นมาเอง เพื่อหาความชอบธรรมทางการเมืองในการยกระดับวิธีการสู้รบกับยูเครนในสงคราม
เนื่องจากในการสู้รบปัจจุบันรัสเซียค่อนข้างเสียเปรียบในสนามรบ ขณะที่ยูเครนมีอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ครบมือ พร้อมเปิดปฏิบัติการโต้กลับในฤดูใบไม้ผลินี้
ส่วนทฤษฎีสุดท้าย คาดกันว่าเหตุโดรนบุกพระราชวังเครมลินอาจเป็นแผนเพื่อยกเลิกการจัดงานสวนสนามวันแห่งชัยชนะที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ เนื่องจากรัสเซียต้องการปกปิดความล้มเหลวของปฏิบัติการพิเศษทางการทหารของตนเองที่จะสะท้อนผ่านอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ในสนามรบลดลงอย่างเห็นได้ชัด ล่าสุดรัฐบาลรัสเซียประกาศยกเลิกการจัดงานแล้วใน 21 เมืองทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่ชัดเจนว่าใครอยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีพระราชวังเครมลิน แต่นับตั้งแต่เกิดเหตุ รัสเซียก็ได้ใช้โดรนระดมโจมตีกรุงเคียฟและหลายจุดของเมืองเคอร์ซอนที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน นี่คือภาพของผู้คนที่พากันอพยพออกจากเมือง เพราะกลัวว่ารัสเซียจะมุ่งเป้าโจมตีเมืองนี้รุนแรงขึ้น ในภาพรวมการโจมตีเมืองเคอร์ซอนเมื่อวันพุธที่ผ่านมาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 23 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 46 ราย
ด้านฝ่ายรัสเซีย ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ยังไม่ได้ออกมาแถลงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีทีผ่านมา ปรากฏภาพของผู้นำรัสเซียขณะกำลังนั่งประชุมกับ มาซิม เรเชตนิกอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ แต่ไม่มีรายละเอียดว่าทั้งคู่หารือในประเด็นใด
ปิดท้ายที่เวทีการประชุมความร่วมมือกลุ่มประเทศทะเลดำ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงอังการาเมืองหลวงของประเทศตุรกี ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่ถูกนำมาหารือร่วมกันคือ ข้อตกลงการขนส่งธัญพืชในทะเลดำระหว่างรัสเซีย ยูเครน ยูเอ็น และตุรกี อย่างไรก็ดี การประชุมไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากมีการสู้รบปรบมือกันระหว่างผู้แทนของยูเครนและรัสเซียในที่ประชุม
ภาพความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในที่ประชุม หลังจาก วาเลรี สตาวิตสกี ผู้แทนของรัสเซียได้เดินไปคว้าธงชาติของยูเครน ขณะที่โอเล็กซานเดอร์ มาริคอฟสกี ผู้แทนยูเครนกำลังชูธงอยู่บริเวณป้ายแบล็กดร็อปของงาน จากนั้นผู้แทนยูเครนได้วิ่งพุ่งเข้าไปต่อยหน้าผู้แทนของรัสเซีย จนเจ้าหน้าที่และแขกที่อยู่ในงานต้องมาช่วยกันห้ามศึกระหว่างสองผู้แทน
อย่างไรก็ดี ความวุ่นวายยังไม่จบเพียงเท่านั้น เมื่อผู้แทนยูเครนรายดังกล่าวได้ไปชูธงชาติยูเครนในที่ประชุมอีกรอบในตอนที่ผู้แทนรัสเซียกำลังพูดอภิปราย ทำให้การประชุมต้องถูกหยุดไว้ชั่วคราว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องเข้ามาช่วยกันควบคุมสถานการณ์
ภาพวิดีโอความวุ่นวายในที่ประชุมได้ถูกนำไปเผยแพร่ลงในเว็บรัฐสภาของตุรกี ก่อนที่มุสตาฟา เซ็นท็อป ประธานรัฐสภาตุรกี จะออกมาวิจารณ์การกระทำดังกล่าวว่าเป็นการทำลายความพยายามของตุรกีในการสร้างบรรยากาศความร่วมมือท่ามกลางความขัดแย้ง