ในโลกปัจจุบันที่เรื่องของอวกาศ ความลับของเอกภพ และปริศนาสิ่งมีชีวิตนอกโลก เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง ยังมีอีกหนึ่งพื้นที่ซึ่งยังคงเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคอยการค้นพบ นั่นคือ “ใต้ทะเลลึก”

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก ประเมินว่า ปัจจุบัน มีพื้นที่ทะเลและมหาสมุทรเพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับการสำรวจและทำแผนที่โดยมนุษย์ ส่วนที่เหลือ โดยเฉพาะใต้ทะเลลึก ยังคงเป็นพื้นที่ลึกลับอยู่

นักวิทย์พบ “หลุมดำมวลยิ่งยวด” แห่งใหม่ มีขนาดใหญ่สุดเท่าที่เคยพบ!

นักวิทยาศาสตร์รู้แล้ว! “น้ำบนดวงจันทร์” ซุกซ่อนอยู่ที่ไหน

“มนุษย์ทนร้อนได้แค่ไหนคำพูดจาก สล็อตออนไลน์?” คำถามสำคัญเมื่ออากาศเมืองไทยร้อนเหลือเกิน

ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวน่าทึ่งในวงการศึกษาใต้ทะเล หลังนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยภาพเคลื่อนไหวปลาที่ความลึก 8,336 เมตร บริเวณร่องน้ำลึกอิซุ-โอกาซาวาระ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ทุบสถิติเป็นปลาที่อยู่ลึกที่สุดที่เคยมีการถ่ายไว้ได้

วิดีโอนี้บันทึกได้เมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว จากเรือเดินทะเลลึกไร้คนขับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการภารกิจศึกษาร่องลึกอิซุ-โอกาซาวาระ และร่องลึกริวกิว โดยทีมวิจัยจากศูนย์วิจัยทะเลลึกมหาวทิยาลัยไมน์เดอรูแห่งออสเตรเลียตะวันตก ร่วมกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลโตเกียว

สำหรับปลาที่บันทึกภาพเคลื่อนไหวไว้ได้เป็นปลา “สเนลฟิช” (Snailfish) ชนิดหนึ่ง

สเนลฟิชเป็นปลาในวงศ์ Liparidae สกุล Pseudoliparis ซึ่งมีการค้นพบแล้วมากกว่า 400 สายพันธุ์ มีแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ตั้งแต่บริเวณน้ำตื้นไปจนถึงใต้ทะเลลึกอันมืดมิด

ก่อนหน้านี้ ปลาที่อยู่ลึกที่สุดที่มนุษย์เคยสามารถบันทึกภาพไว้ได้ คือเมื่อปี 2017 เป็นภาพปลามาเรียนาสเนลฟิช (Mariana Snailfish) ในบริเวณร่องลึกมาเรียนา ที่ความลึก 8,178 เมตร

ไม่กี่วันหลังจากถ่ายภาพปลาสเนลฟิชได้ นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถจับปลาสเนลฟิชได้อีก 2 ตัว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ Pseudoliparis belyaevi จากความลึก 8,022 เมตร ทำให้สองตัวนี้เป็นปลาตัวแรกที่จับได้จากความลึกมากกว่า 8,000 เมตร และทุบสถิติเดิมของเมื่อปี 2008 ที่เคยจับปลาสเนลฟิชได้ที่ความลึก 7,703 เมตร

ศ.อลัน เจมีสัน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของคณะสำรวจ และผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยทะเลลึกมหาวิทยาลัยไมน์เดอรู กล่าวว่า การปรับตัวที่เฉพาะเจาะจงทำให้ปลาสเนลฟิชบางชนิดสามารถอยู่ได้ลึกมาก

เขากล่าวว่า การปรับตัวใต้ทะเลลึกมักจะไม่ค่อยชัดเจนนัก “หนึ่งในเหตุผลที่สเนลฟิชประสบความสำเร็จอย่างมากในการดำรงชีวิตก็คือ พวกมันไม่มีถุงลม (หรือที่คนไทยเรียกกันว่า กระเพาะปลา) เนื่องจากการพยายามรักษาแก๊สเป็นเรื่องยากมากในพื้นที่ที่มีความดันสูง” ที่ความลึก 8,000 เมตรใต้น้ำ ความดันจะมากกว่าที่ผิวน้ำถึง 800 เท่า

นอกจากนี้ อีกการปรับตัวที่สำคัญคือ สเนลฟิชไม่มีเกล็ด แต่มี “ชั้นวุ้น” เพื่อลดและต้านทานความดันที่สูงในพื้นที่ใต้น้ำลึก ซึ่งเจมีสันอธิบายว่าเป็น “การปรับตัวทางสรีรวิทยาอย่างง่าย”

เขาบอกว่า นี่เป็นการยืนยันทฤษฎีที่มีมาอย่างยาวนานว่า ปลามาเรียนาสเนลฟิชไม่ใช่ปลาที่อยู่ลึกที่สุดในโลก

ทั้งนี้ เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว เจมีสันและเพื่อนร่วมทีมวิจัยของเขาได้ตั้งสมมติฐานว่า อาจเป็นไปไม่ได้ทางชีววิทยาที่ปลาจะอยู่รอดในระดับความลึกมากกว่า 8,200-8,400 เมตร

“ปลาทุกตัวมีออสโมไลต์ (Osmolyte) ซึ่งเป็นของเหลวในเซลล์ที่พวกมันใช้เพื่อต้านแรงดัน มันคือสิ่งที่ทำให้เกิดกลิ่นคาวปลา … เมื่อคุณไปถึงระดับความลึกประมาณ 8,200-8,400 เมตร การเปลี่ยนแปลงอาจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ มันจะไปถึงจุดที่เรียกว่าไอซอสโมซิส (Isosmosis) ซึ่งหมายความว่าคุณไม่สามารถเพิ่มความเข้มข้นของของเหลวนั้นในเซลล์ได้อีกต่อไป” เจมีสันกล่าว

เรียบเรียงจาก CNN / The Guardian

ภาพจาก Minderoo-UWA Deep Sea Research Centre

ลึกสุดที่เคยถ่ายและจับได้! ยลโฉมปลาใต้ทะเลลึก 8,300 เมตร

admin